ธรรมนูญสภาคณบดีมนุษยศาสตร์แห่งประเทศไทย

.. ๒๕๔๙

 

            เพื่อให้การดำเนินงานและการประสานงานของสภาคณบดีมนุษยศาสตร์แห่งประเทศไทยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพและบังเกิดผลดีตามวัตถุประสงค์

            จึงกำหนดธรรมนูญของสภาคณบดีมนุษยศาสตร์แห่งประเทศไทยไว้ ดังต่อไปนี้

 

หมวดที่ ๑

บททั่วไป

ข้อ ๑     ธรรมนูญนี้เรียกว่า “ธรรมนูญสภาคณบดีมนุษยศาสตร์แห่งประเทศไทย พ.. ๒๕๔๙”

ข้อ ๒    ในธรรมนูญนี้ 

            “สภา”                            หมายถึง สภาคณบดีมนุษยศาสตร์แห่งประเทศไทย เรียกชื่อย่อว่า            “สคมท”  ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Council Humanities Deans of Thailand  เรียกชื่อย่อว่า  “CHDT”

            “สถาบัน”                       หมายถึง สถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงานอื่นที่มีการจัดการศึกษา           สาขามนุษยศาสตร์

            “มนุษยศาสตร์”                หมายถึง สาขาวิชาด้านมนุษยศาสตร์ซึ่งมีการจัดการศึกษาและ/หรือ การวิจัยในคณะมนุษยศาสตร์ หรือคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หรือคณะศิลปศาสตร์ หรือคณะอักษรศาสตร์ หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น 

            “คณบดี”                         หมายถึง ผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี หรือเทียบเท่าคณบดี ในหน่วยงานที่มีการจัดการศึกษาและการวิจัยสาขามนุษยศาสตร์

            “คณะกรรมการ”              หมายถึง คณะกรรมการสภาคณบดีมนุษยศาสตร์แห่งประเทศไทย

            “ประธาน”                      หมายถึง ประธานสภาคณบดีมนุษยศาสตร์แห่งประเทศไทย

            “รองประธาน”                หมายถึง รองประธานสภาคณบดีมนุษยศาสตร์แห่งประเทศไทย

            “กรรมการ”                     หมายถึง กรรมการสภาคณบดีมนุษยศาสตร์แห่งประเทศไทย

            “สมาชิก”                        หมายถึง สมาชิกสภาคณบดีมนุษยศาสตร์แห่งประเทศไทย

ข้อ ๓     เครื่องหมายของสภา ให้เป็นไปตามมติของสภา

ข้อ ๔     ให้ประธานเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามธรรมนูญนี้

 

หมวดที่ ๒

วัตถุประสงค์

ข้อ ๕     สภามีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

(๑)   เพื่อเสนอทิศทางการพัฒนาการศึกษาและการวิจัยสาขามนุษยศาสตร์ สู่ความเป็นเลิศ            ทางวิชาการ

(๒) เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่การวิจัยและการประยุกต์องค์ความรู้สาขามนุษยศาสตร์           เพื่อรับใช้สังคม

(๓)  เพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานงาน และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันอื่น                     ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

(๔)  เพื่อให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะ และรับฟังความคิดเห็นในการจัดการศึกษาและการวิจัย             สาขามนุษยศาสตร์ แก่หน่วยงานอื่น

(๕)  เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันให้ทำงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ

 

หมวดที่ ๓

สมาชิก

ข้อ ๖     สภามีสมาชิกสองประเภท คือ

(๑)   สมาชิกสามัญ ได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์ หรือคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หรือคณะศิลปศาสตร์ หรือคณะอักษรศาสตร์ หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น  ซึ่งมีการจัดการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสาขามนุษยศาสตร์ โดยมีคณบดีเป็นผู้แทน 

(๒) สมาชิกสมทบ ได้แก่ สถาบัน สมาคม และองค์กรทางการศึกษาอื่น ซึ่งคณะกรรมการมีมติให้รับเข้าเป็นสมาชิก

ข้อ ๗     การสมัครเข้าเป็นสมาชิกให้ยื่นใบสมัครตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด สมาชิกภาพเริ่มตั้งแต่วันที่คณะกรรมการมีมติให้รับผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิก

ข้อ ๘     สมาชิกมีสิทธิ ดังต่อไปนี้

(๑)   เข้าร่วมประชุมอภิปราย ซักถามและแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมใหญ่ของสภา

(๒) เสนอข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการในเรื่องใด ๆ  ที่เกี่ยวกับกิจการของสภา

(๓)  เข้าร่วมกิจกรรมทุกประเภทของสภา

(๔)  ได้รับแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือผู้แทนสภา เพื่อดำเนินกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่สภาหรือคณะกรรมการมอบหมาย

(๕)  มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมใหญ่ และมีสิทธิได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการ

(๖)   สมาชิกสมทบมีสิทธิตามข้อ () () และ ()

ข้อ ๙     สมาชิกมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑)   ปฏิบัติตามธรรมนูญ ข้อบังคับ ระเบียบและมติของสภา

(๒) เข้าประชุม ส่งเสริม สนับสนุน และให้ความร่วมมือในการดำเนินงานการจัดกิจกรรมของสภา

(๓)  ชำระค่าบำรุง ตามระเบียบของสภา

ข้อ ๑๐   สมาชิกภาพสิ้นสุดลงเมื่อ

(๑)   ลาออก

(๒) ค้างค่าบำรุงประจำปีติดต่อกันเป็นเวลาสองปี

(๓)  ยุบเลิกหน่วยงาน            

 

หมวดที่ ๔

การดำเนินกิจการของสภา

ข้อ ๑๑   ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเป็นผู้บริหารงานและดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสภา              ประกอบด้วยกรรมการ จำนวนไม่เกิน ๑๕  คน  ซึ่งเลือกตั้งจากสมาชิกสามัญ โดยสถาบันหนึ่ง            มีผู้แทนได้หนึ่งคน

ข้อ ๑๒  ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการเป็นประธานหนึ่งคน  รองประธาน ๒ คน  เลขานุการ ๑ คน  และกรรมการตำแหน่งอื่นตามที่เห็นสมควร

ข้อ ๑๓   กรรมการมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี  กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งอาจได้รับเลือกตั้ง               ให้ดำรงตำแหน่งอีกได้  กรรมการจะดำรงตำแหน่งประธานติดต่อกันเกินสองวาระมิได้

ข้อ ๑๔   ในกรณีที่กรรมการพ้นตำแหน่งคณบดีก่อนครบวาระ ให้คณบดีซึ่งดำรงตำแหน่งแทนในสถาบันนั้น ๆ  เป็นกรรมการแทน และให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงช่วงระยะเวลาที่ยังเหลืออยู่ในวาระนั้น

                        ในกรณีที่ตำแหน่งประธาน รองประธานว่างลงก่อนครบวาระ ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการเข้าดำรงตำแหน่งประธาน รองประธาน และให้ดำรงตำแหน่งเพียงช่วงระยะเวลา ที่ยังเหลืออยู่ในวาระนั้นของคณะกรรมการคณะนั้น

ข้อ ๑๕   ให้มีการประชุมคณะกรรมการ ปีละไม่น้อยกว่าสองครั้ง การประชุมแต่ละครั้งต้องมีกรรมการ            มาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม

                        มติที่ประชุมให้ถือตามเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด

ข้อ ๑๖   สภามีอำนาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษา  แต่งตั้งอนุกรรมการ  หรือคณะทำงานที่เรียกชื่อ       อย่างอื่น เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสภา

ข้อ ๑๗   ให้มีสำนักงานสภา ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานของสภา โดยมีประธานสภา              เป็นหัวหน้าสำนักงาน  สำนักงานสภาตั้งอยู่ ณ สถาบันที่ประธานสภาดำรงตำแหน่ง

                        ประธานสภาอาจแต่งตั้งบุคคล หรือว่าจ้างบุคคลเพื่อปฏิบัติงานในสำนักงานตาม               หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด

ข้อ ๑๘  ให้สภามีอำนาจในการออกระเบียบว่าด้วย การเงิน หรือระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการของสภา

 

หมวดที่ ๕

การประชุมใหญ่

ข้อ ๑๙   ให้สภามีการประชุมใหญ่ เรียกว่า การประชุมสามัญประจำปี ปีละหนึ่งครั้ง การประชุมใหญ่คราวอื่น  นอกจากการประชุมตามวรรคแรกเรียกว่าการประชุมวิสามัญ

ข้อ ๒๐  เมื่อมีเหตุจำเป็น ให้ประธานเรียกประชุมวิสามัญได้ หรือสมาชิกสามัญจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้า           ของจำนวนสมาชิกสามัญทำหนังสือร้องขอต่อประธาน ให้เรียกประชุมวิสามัญ โดยต้องระบุวัตถุประสงค์ของการเรียกประชุมด้วย  ในกรณีที่สมาชิกสามัญเป็นผู้ร้องขอ ให้เรียกประชุมวิสามัญภายในสามสิบวัน             นับแต่วันที่ประธานรับหนังสือคำร้อง

ข้อ ๒๑  ในการประชุมใหญ่ทุกคราว หากคณบดีไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ ให้มอบหมายให้ผู้อื่นเข้าร่วมประชุมแทนได้

ข้อ ๒๒ ในการประชุมใหญ่ทุกคราว ให้ประธานสภาเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ถ้ารองประธานไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม

ข้อ ๒๓  ในการประชุมใหญ่ต้องมีสมาชิกสามัญจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสามัญ             ทั้งหมด จึงนับเป็นองค์ประชุม  มติของที่ประชุมให้ถือตามเสียงข้างมากของสมาชิกสามัญ ที่มาประชุม 

                        หากสมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุมให้ดำเนินการประชุมได้ จากนั้นประธานเวียนแจ้งข้อสรุปให้สมาชิกทราบเพื่อขอความเห็นชอบ และถือเป็นมติต่อไป

ข้อ ๒๔  ให้สภาจัดทำรายงานประจำปี  งบดุล  และบัญชีรายได้รายจ่ายประจำปี ซึ่งมีผู้ตรวจสอบบัญชีรับรอง เสนอต่อที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี เพื่อรับรอง

 

หมวดที่ ๖

รายได้และเงินอุดหนุน

ข้อ ๒๕  สภามีรายได้จาก

(๑)   ค่าบำรุง ค่าลงทะเบียน ค่าบริการจากสมาชิก

(๒) เงินบริจาค

(๓)  เงินรายได้อื่น

 

หมวดที่ ๗

การแก้ไขเพิ่มเติม

ข้อ ๒๖  การแก้ไขเพิ่มเติมธรรมนูญนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกสามัญจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสามัญทั้งหมด

 

หมวดที่ ๘

เบ็ดเตล็ด

ข้อ ๒๗  ในกรณีที่มีปัญหาอันเกิดจากการตีความธรรมนูญนี้ หรือเกิดจากการที่ธรรมนูญนี้มิได้กำหนดไว้        ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด

 

หมวดที่ ๙

บทเฉพาะกาล

ข้อ ๒๘  ให้คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และคณะกรรมการที่ได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมคณบดีมนุษยศาสตร์  เมื่อวันที่ ๑๙  สิงหาคม  .. ๒๕๔๘  เป็นคณะดำเนินการให้ได้มาซึ่งธรรมนูญ รับสมัครสมาชิก และเชิญประชุมเลือกคณะกรรมการตามธรรมนูญ 

 

                                                                  ประกาศ ณ วันที่  ๒๔  มีนาคม  .. ๒๕๔๙

 

 

                                                                       (รองศาสตราจารย์เฉลียวศรี  พิบูลชล)

                                                              ประธานสภาคณบดีมนุษยศาสตร์แห่งประเทศไทย